สินเชื่อฟื้นฟู มีไว้ทำไม
เนื่องจากภาคธุรกิจหลายแห่งในประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะโควิด-19 ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงให้ยืมเงินไปหมุนเวียนภายใต้มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู หรือที่เรียกว่าสินเชื่อฟื้นฟู ธปท นั่นเอง นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของสินเชื่อธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2024 ยังมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการชาวไทยลดการพึ่งพาเงินทุนหมุนเวียนอีกด้วย ทั้งนี้ สินเชื่อฟื้นฟู 2567 มีงบประมาณค่อนข้างมาก ซึ่งใครที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูได้ในเว็บไซต์สินเชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย และสินเชื่อฟื้นฟู pantip ปี 2567 หากอยากรู้ว่ามีธนาคารไหนบ้างที่มีมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ก็ตอบได้ว่าธนาคารพาณิชย์ชั้นนำในประเทศต่างร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้บริการสินเชื่อฟื้นฟู rl หรือสินเชื่อผู้ประกอบการด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารกรุงไทย เป็นต้น หากใครที่สะดวกลงทะเบียนบริการสินเชื่อฟื้นฟูกับธนาคารไหน ก็สามารถเลือกธนาคารนั้น ๆ ได้เลย ซึ่งวงเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ธนาคารเป็นรายบุคคล
ใครบ้างสามารถเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฟื้นฟูได้
สำหรับคุณสมบัติของคนที่จะเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฟื้นฟู หรือสินเชื่อเพื่อธุรกิจนั้น จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศไทย สำหรับลูกหนี้เดิมที่เข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู จะต้องมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท และไม่เป็นลูกหนี้ NPL ในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ส่วนลูกหนี้ใหม่ที่ลงทะเบียนนั้น จะต้องไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่ง นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการสินเชื่อฟื้นฟูดังกล่าว ต้องไม่ได้เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ยกเว้นตลาดหลักทรัพย์ MAI ที่สำคัญคือผู้กู้สินเชื่อฟื้นฟูนอกระบบต้องไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ในส่วนของวงเงินที่ได้รับนั้น ลูกหนี้เดิมจะกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินในแต่ละสถาบันการเงิน แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท ส่วนลูกหนี้ใหม่จะกู้สินเชื่อฟื้นฟู ธปท ในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท รวมถึงมีระยะเวลาผ่อนดอกเบี้ยนานถึง 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกิน 5% ต่อปี
ค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู
ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูในปี 2024 นี้ จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามเงื่อนไขของสินเชื่อฟื้นฟู rl คือ 1. อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อฟื้นฟู ซึ่งผู้ลงทะเบียนทางออนไลน์จะได้รับการยกเว้นผ่อนชำระช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้น จ่ายดอกเบี้ย 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรกของสัญญา และต้องจ่ายดอกเบี้ยไม่เกิน 5% ต่อปี สำหรับช่วง 5 ปีแรกของสัญญา 2. ค่าธรรมเนียมสินเชื่อเพื่อธุรกิจ โดยผู้เข้าร่วมโครงการสินเชื่อฟื้นฟู 2567 จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหลักประกันที่ต้องชำระแก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อยม (บสย.) ไม่เกิน 1.75% ต่อปีของวงเงินที่ค้ำประกัน หากเทียบสิ่งที่ได้รับกับค่าใช้จ่ายของมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูก็ต้องบอกว่าคุ้มมาก ๆ เพราะผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับเงินทุนหมุนเวียนเพื่อฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมาใหม่ได้อีกครั้งนั่นเอง